เทคนิคติวสอบ SOCIAL เพื่อเกี่ยวคะแนน GED
การสอบ GED เป็นการสอบที่สำคัญมากก็จริงและมีผลต่อการเลื่อนระดับชั้นให้เร็วขึ้น รวมถึงร่นระยะเวลาในการเรียนได้มาก แต่ละวิชาที่ถูกนำมาใช้ศอกก็เป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นจะต้องรู้ให้มากขึ้นเหมือนกัน รวมถึงวิชา “SOCIAL” หรือเป็นวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ก็เป็นเรื่องไกลตัวได้เหมือนกัน
ยิ่งทำให้หลายคนมีความกังวลในการเลือกสอบสังคมศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสอบ GED ที่จะต้องสอบโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักยิ่งเป็นการเพิ่มความยากได้อีกทวีคูณ มาดูเทคนิคง่ายๆที่สามารถเอามาปรับใช้ได้เลยจะดีกว่า…
เทคนิคที่ 1 : วันก็สำคัญ แต่ไม่มาก
หลายครั้งที่มักจะเข้าใจว่าในด้านของสังคมศาสตร์เวลาสอบมาจะต้องจำเรื่องของวันที่เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่สำคัญไม่จำเป็นจะต้องจำเพียงแค่วันที่อย่างเดียว เพราะสามารถเพิ่มเติมได้ด้วยการจดจำถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยจะเป็นเหมือนกับการทำความคุ้นเคยกับหัวข้อเหล่านั้น เพราะสาเหตุในความเป็นมาหลายส่งผลต่อเรื่องของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง
เทคนิคที่ 2 : ศึกษาข้อมูล
ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์หรือสถานการณ์ในอดีตและอาจจะมีผลต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลในที่นี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเพียงแค่หนังสือเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้วการศึกษาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆก็เป็นส่วนที่สำคัญ แนะนำว่าให้อ่านเพิ่มเติมจากทางหนังสือพิมพ์ วารสาร หรืออาจจะเป็นหนังสือเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ จะทำให้เห็นภาพเดียวกับสถานการณ์เหล่านั้นได้ชัดเจนมากขึ้น
เทคนิคที่ 3 : อย่าโดนหลอก
ถ้าหากว่าเคยได้ฝึกฝนทำข้อสอบของรายวิชานี้มาแล้ว จะเข้าใจมากที่ว่าด้วยเนื้อหาหรือข้อมูลที่มีให้ เพื่อใช้ในการตอบคำถามอาจจะมีกราฟหรือแผนภูมิเพิ่มเข้ามา โดยจะนับว่าแต่มีข้อมูลที่อาจจะถูกทำขึ้นมาหลอกก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการตีความข้อมูลจากกราฟหรือแผนภูมิก็ควรจะต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้นจากทั้งหัวข้อ รวมถึงข้อความต่างๆที่ถูกเพิ่มเข้ามาสำหรับการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของกราฟเหล่านั้น และการอ่านหัวข้อของกราฟหรือแผนภูมิเหล่านั้น จะทำให้ดึงเอาข้อมูลแนวคิดของสถานการณ์เหล่านั้นมาได้ง่ายๆ
โดยทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคที่สามารถเอามาปรับใช้กับการสอบด้านสังคมศาสตร์เพื่อหลักสูตร GED ได้อย่างแน่นอน เพราะจะต้องอาศัยเรื่องของการสังเกตและจดจำข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆโดยเฉพาะสถานการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ต้องเข้าใจถึงสาเหตุของความเป็นมา รวมถึงแนวคิดต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นไปจนจบ แม้แต่กระทั่งผลลัพธ์ที่เกิดหลังจากมีเหตุการณ์สำคัญเหล่านั้น เพราะฉะนั้นการหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเดียวไม่เพียงพอจะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มจากหลายๆแหล่งข้อมูลให้มากขึ้น